เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ คืออะไร ใช้ทำอะไร

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ คืออะไร ใช้ทำอะไร ?

ในแต่ละประเทศ จะมีเงินสำรองระหว่างประเทศเก็บไว้ จุดประสงค์เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ และรองรับความเสี่ยงจากต่างประเทศ จะถูกนำไปใช้ในในภาวะตลาดเงินผันผวน  ใช้คานอำนาจการซื้อของต่างชาติ ชดเชยการขาดดุลการชำระเงิน  ทำให้ประเทศมีเสถียรภาพนั้นเอง

ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign exchange reserves) คือ

ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign exchange reserves) คือ สินทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองหรืออยู่ภายใต้การควบคุมโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศและสามารถนำออกมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีเมื่อจำเป็น เช่น การชดเชยการขาดดุลการชำระเงินหรือใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การแทรกแซงค่าเงินและใช้หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งาน

ผู้บริหารจัดการ เงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศไทย คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

มาดู 20 อันดับ ประเทศที่มี ทุนสำรองระหว่างประเทศ มากที่สุด

ทุนสำรองระหว่างประเทศ 20 อันดับ

ที่มาข้อมูล:  wikipedia.org 

 

เห็นแบบนี้บางท่านอาจคิดว่า โอ้วว ทำไม่ประเทศไทย มีเงินทุนสำรองเยอะติด 20 อันดับ รวยขนาดนั้นเลยหรอ  มาดู หนี้สาธารณะกันบ้างนะครับ  ข้อมูลจาก สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง  ณ เดือน สิงหาคม 2563  หนี้สาธารณะคงค้าง รวม 7,667,760.88 ล้านบาท หรือประมาณ 245,604 ล้านดอนลาร์สหรัฐ (อัตราแลกเปลี่ยน 31.22)

หนี้สาธารณะประเทศไทย

สมมุติว่าถ้าเอาเงินทุนสำรองมาใช้หนี้ให้หมด ประเทศไทยจะเหลือเงินสำรองอยู่ที่

274,492 – 245,604= 28,888 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศไทยจะตก อันดับไปอยู่ที่  54-56  กันเลยทีเดียว

อันดับเงินสำรองต่างประเทศ

 

เห็นแบบนี้กันแล้ว ช่วงนี้ก็ใช้จ่ายกัน อย่างมีสติกันหน่อยนะครับ

 

เงินบาท แข็ง-อ่อน ดี ไม่ดียังไง