forex ผิด กฎหมาย หรือ ไม่ law thailand forex

กฎหมาย Forex: เทรด Forex ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

เทรด Forex ผิดกฎหมายหรือไม่  เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิต ที่ถูกตามมาเรื่อยๆ บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจให้กับท่าน

เป็นที่ทราบแล้วว่าตลาดฟอเร็กซ์ในเมืองไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ จะมีเพียงแต่กลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ๆ เท่านั้นที่รัฐบาลอนุญาตให้ทำการซื้อ-ขาย เทรดค่าเงินได้ อย่างเช่นธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้น

สาเหตุคงสืบเนื่องมาจากประวัติในอดีตที่ไม่ค่อยจะดีนัก อีกทั้งการลุงทุนมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้เงินในจำนวนมาก(ในอดีต) ด้วยเหตุต้องใช้เงินจำนวนมากนี่เองทำให้รัฐบาลหวั่นเกรงกลัวเหล่ามิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางนำเงินไปฟอก จึงไม่อนุญาตให้มีบริษัทโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ในประเทศ มีกฎหมายห้ามแชร์ลูกโซ่ และระดมทุนเพื่อการเทรดค่าเงิน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ได้อธิบายเกี่ยวกับ กฎหมาย forex ในไทย ดังนี้

นักลงทุนที่ดำเนินธุรกรรมในลักษณะดังกล่าว(ซื้อขาย ฟอเร็กซ์) ด้วยตนเองสามารถกระทำได้ แต่ผู้ลงทุน นั้นต้องรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายจากการขาดทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศของท่านเอง

ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงิน ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน ในลักษณะการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ดังนั้น หากมีบุคคลใดมาชักชวนให้ร่วมลงทุนในลักษณะดังกล่าวให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ท่านอาจโดนมิจฉาชีพหลอกลวงและอาจได้รับความเสียหายได้

กรณีที่มีการชักชวนประชาชนให้ลงทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกปเลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ชักชวนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527

อ้างอิง fpo.go.th สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)

จากคำอธิบายข้างต้น สรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้

  1. นักลงทุนสามารถเทรด Forex ได้เอง แต่ต้องรับผิดชอบความเสี่ยงเอง: นี่แสดงว่าการเทรด Forex ไม่ได้ถูกห้ามโดยตรงสำหรับนักลงทุนรายย่อย แต่ก็ไม่มีการคุ้มครองใด ๆ จากภาครัฐหากเกิดความเสียหาย
  2. ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Forex: ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดเปิดธุรกิจ Forex อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งหมายความว่าไม่มีโบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับการรับรองในประเทศ
  3. การชักชวนลงทุน Forex ถือเป็นความผิด: การที่บุคคลหรือองค์กรใดชักชวนให้ผู้อื่นมาลงทุน Forex โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการฉ้อโกงประชาชน มีความผิดตามกฎหมาย

ตามประกาศเตือนจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย เตือนลงทุน forex

จะเห็นได้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย เตือนให้ระวังการการชักชวนลงทุนเทรด forex เพราะ ปัจจุบัน ยังไม่มีใครได้รับใบอนุญาต ให้บริการเทรด forex บนแพล็ตฟอร์มหรือเว็บไซต์ในประเทศไทย ดังนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้อกับ forex โดยไม่ไม่ใบอนุญาตมีความผิดตามกฎหมาย เช่น

  • ให้บริการรับ-ส่งเงิน เพื่อชำระธุรกรรม forex ทั้งในและต่างประเทศ
  • โฆษณาหรือเชิญชวนเข้ามาเทรด forex โดยไม่มีใบอนุญาต

เมื่อพิจารณาข้อความทั้งหมดแล้ว จะเห็นได้ว่า เตือนให้ระวัง แต่ไม่ได้มีกฎหมายห้ามไม่ให้เทรด forex ส่วนที่ผิดกฎหมาย คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง forex ได้แก่ ธุรกิจให้บริการรับ-ส่งเงิน และ ธุรกิจโฆษณา หรือเชิญชวนเข้ามาเทรด forex โดยไม่มีใบอนุญาต

สรุปง่ายๆ คือ การเทรด Forex กับโบรกเกอร์ต่างประเทศ ไม่ได้ขัดต่อกฎหมายไทย บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ แต่ต้องรับผิดชอบความเสี่ยงเอง

การเทรด forex กับโบรกเกอร์ ที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายสากล มีหน่วยงานจดทะเบียนโบรกเกอร์ Forex (ต่างประเทศ) จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญ

ตัวอย่าง หน่วยงานจดทะเบียนโบรกเกอร์ Forex ในต่างประเทศ

FCA (Financial Conduct Authority, United Kingdom) องค์การกำกับทางการเงิน สหราชอาณาจักร

ถือเป็นหนึ่งในองค์กรกำกับดูแล ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท, โบรกเกอร์ และหน่วยงานทางการเงิน FCA เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และไม่ใช้เงินของผู้เสียภาษีอากรสำหรับการดำเนินงานและ FCA ยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area) และ MiFID สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยกย่องระดับโลก ว่ามีระบบการกำกับดูแลที่ดีเยี่ยม ในการป้องกันการทุจริตทางการเงินและะป้องกันการหลอกลวง, การฉ้อฉลในรูปแบบอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกและผู้ค้ารายย่อย

ASIC (Australian Securities and Investments Commission) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุน ประเทศออสเตรเลีย

เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ต่อต้านการทุจริตทางการเงิน และต่อต้านการทุจริตในตลาดทุน โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ และ ต้องแยกเก็บเงินของลูกค้าไว้ในธนาคารชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย

CySEC (Cyprus Securities and Exchange Commission) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประเทศไซปรัส

โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 750,000 ยูโร และต้องส่งงบการเงินประจำปี มีการรับประกันชดเชยเงินสูงสุด 20,000 ยูโร ให้ลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย

ความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น:

  • ความเสี่ยงในการถูกหลอกลวง: เนื่องจากไม่มีการกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกหลอกลวงจากผู้ให้บริการที่ไม่น่าเชื่อถือ
  • ความเสี่ยงในการสูญเสียเงินลงทุน: การเทรด Forex มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว การเทรดกับผู้ให้บริการที่ไม่ได้รับอนุญาตยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเสียเงินลงทุน
  • ความผิดทางกฎหมาย: ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเทรด Forex ในประเทศไทยอาจมีความผิดตามกฎหมาย เช่น การให้บริการรับ-ส่งเงินเพื่อชำระธุรกรรม Forex หรือการโฆษณาชักชวนให้ผู้อื่นมาเทรด Forex

คำแนะนำ:

  • ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ: ก่อนตัดสินใจลงทุนใน Forex ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตลาด Forex และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
  • ระมัดระวังการหลอกลวง: อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่เกินจริงหรือรับประกันผลตอบแทนสูง ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ลงทุนอย่างระมัดระวัง: ควรลงทุนด้วยเงินที่สามารถยอมรับการสูญเสียได้ และไม่ควรลงทุนเกินกำลังของตนเอง

คำถามที่ถูกถามบ่อย เกี่ยวกับ กฎหมาย forex

การเทรด Forex ผิด กฎหมาย หรือ ไม่ ?

ไม่ผิด แต่นักเทรดต้องรับความเสี่ยงเอง ทั้งเสี่ยงที่เกิดจากการขาดทุน และ ความเสี่ยงที่เกิดจากการฉ้อโกงบางโบรกเกอร์ต่างประเทศ ถ้าจะเทรด ก็ต้องเลือกโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

เป็น IB,Partner ผิดกฎหมายไหม ?

ขึ้นอยู่กับวิธีการชักชวน หากมีการชักชวนโดยตรงถือว่าผิด (การชักชวนประชาชนให้ลงทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกปเลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ชักชวนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527)

ระดมทุน ผิดกฏหมายไหม ?

ผิด (การชักชวนประชาชนให้ลงทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกปเลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ชักชวนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527)

ฝากเทรดผิดกฏหมายไหม ?

คนฝากเทรดอาจจะไม่ผิด แต่ผู้ที่รับฝากเทรดอาจจะผิดขึ้นอยู่กับวิธีการชักชวน ส่วนใหญ่แล้วมีวิธีชักชวนที่ผิดกฎหมายโดยอ้างผลตอบแทนเกินจริง

เปิดโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ในประเทศไทยได้ไหม ?

ไม่ได้ ปัจจุบัน (2024) ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่ ?