ประเภท ของโบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง

โบรกเกอร์ฟอร์เร็กซ์ คือบริษัทนายหน้า เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่  รับ – ส่ง คำสั่ง(ออเดอร์)ของเราเข้าสู่ตลาด Forex ปัจจุบันจะเก็นว่าโบรกเกอร์ฟอร์เร็กซ์นั้น มีมากมาย ถ้าจะนับนวนทั้งหมด ล่าสุดมีมากกว่า 2,000 โบรกฯ เลยทีเดียว ในบทความนี้เราจะมากล่าวถึงประเภทของโบรกเกอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1.Dealing Desk (DD) บางทีก็เรียกว่า Market Maker  หรือ B Book  คือโบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของ โบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา

2.No Dealing Desk (NDD) หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า A Book คือ โบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อ – ขาย ของลูกค้าไปยังพื้นที่ส่วนกลางโดยตรง  โดยที่ไม่ได้ผ่าน server หลักของโบรกเกอร์ แยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • STP (Straight Through Processing) คือ การประมวลผลโดยตรง
  • ECN+STP (Electronic Communication Network + Straight Through Processing คือ การประมวลผลโดยตรง+ระบบออโต้ที่เก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน

ประเภทโบรกเกอร์ Forex

ประโยชน์ของการเลือกโบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD)

1.ส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ข้อแรกของการใช้ No Dealing Desks (NDD) คือ เราสามารถทำคำสั่งซื้อหรือขายไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความเร็วตรงนี้มีผลโดยตรงต่อการเทรด forex เพราะยิ่งถ้าเป็นช่วงที่ตลาดมีการแกว่งตัวแรงๆ ถ้าเราสามารถเข้าไปเทรดได้ทัน นั่นหมายความว่าเราสามารถทำเงินและทำกำไรได้เร็วกว่ามากกว่า หรือรีบตัดการขาดทุนได้เร็วกว่าโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่ No Dealing Desks (NDD) ครับ

2.ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาจริง

ข้อนี้จะมีส่วนสำคัญช่วยให้เรานั้นสามารถเลือกกลยุทธ์ในการทำการตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากราคาที่มีความใกล้เคียงกับราคาจริงมากๆนั่นเอง ถ้าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่เป็นแบบ NDD แล้ว ก็อาจจะไม่สามารถทำลักษณะแบบนี้ได้

3.ค่าเสปรดมีการแกว่งตัวหลายแบบ

ข้อดีต่อมาคือเรื่องของค่า สเปรดที่มีการแกว่งตัวหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะ และช่วงเวลาของการเทรด หลักการง่ายๆคือ ถ้าช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เข้าทำการเทรด forex ในคู่เงินนั้นน้อยๆ ก็จะทำให้ค่าตัวนี้มีราคาสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ก็จะทำให้มีราคาต่ำเช่นกัน จึงสามารถประยุกต์ข้อมูลตรงนี้ในการวางแผนการเทรดได้ อย่างเช่น การชิพไปเทรดในคู่เงินที่มีสเปรดต่ำๆครับ

 

โบรกเกอร์ที่เป็นแบบ No Dealing Desks (NDD) ได้แก่

IC Markets, Exness, XM,  FBS,  Pepperstone

หมายเหตุ: ส่วนใหญ่โบรกเกอร์จะมีทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีเทรดที่เลือก  โดยส่วนมากบัญชีเทรดที่กำหนดยอดเงินฝากเริ่มต้น สูงๆ  จะเป็น NDD ส่วนบัญชีเทรดที่กำหนดยอดเงินฝากเริ่มต้น ต่ำๆ จะเป็น DD

 

ประเภทโบรกเกอร์ Forex แบบต่างๆ

 

 

ประเภทโบรกเกอร์ Forex