event trade forex in thai

เทคนิคเทรด forex เทรดตามข่าว (สำหรับมือใหม่)

การเทรดตามข่าวนั้นค่อนข้างจะเสี่ยงเอาการทีเดียว ยิ่งถ้าเป็นมือใหม่ ใส่ใจแค่เทคนิค ไม่ได้สนใจข่าวอะไรเลย ไม่รู้จักวิเคราะห์ข่าว ไม่มีมันนี่แมนเนจเมนท์  เทรดไปอยู่ดีๆ ก็อาจหมดตูด หรือโดนล้างพอร์ตได้ เพราะโดนพี่นิวเล่นงาน

ฉะนั้น การจัดการความเสี่ยงเบื้องต้น หรือการตั้ง stop loss ควรนึกถึงทันทีเมื่อคิดที่จะเทรด  แต่ก็มีบางท่านที่ถนัดในการแก้ไม้ หรือแก้พอร์ตเอาทีหลัง อันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งก็ได้ครับ

แต่ก็แน่นอน สำหรับสายโหด ที่ชอบความเสี่ยงและท้าทาย ไม่ซีเรียสกับการโดนล้างพอร์ต เล่นแบบจัดหนักไม่สนใจอะไรทั้งนั้น (ก็ชั้นมีเงินเนี่ยะ!)  ถ้าเจอแบบนั้น เราก็ไปว่าอะไรเขาไม่ได้เนอะ! คงได้แต่แอบมองตาปิบๆ และแอบคิดอยู่ในใจ อ่า.. น่าจะส่งมาเข้าพอร์ตทางนี้บ้าง หน้าตักจะได้ใหญ่ๆ เวลาเจอตลาดผันผวนมากๆ จะได้ไม่ต้อง มีอาการ เซนซิทีฟจนเกินไป

แต่ว่าการเทรดแบบที่ไม่มี MM อะไรเลยนั้น มันค่อนข้างจะดูเหมือนการพนัน เล่นแทงสูงต่ำเหมือนไฮโล อันนี้ทางผู้เขียนก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ ไม่ขอสนับสนุน เพราะสไตล์แบบนั้นมันไม่ใช่แนวของนักลงทุนเลย ตามที่ผมเข้าใจนะครับ

ไปที่ประเด็นการเทรดข่าวต่อครับ

ข่าว forex อะไรหนอ ทำไมมันรุนแรง สามารถทำให้ค่าเงินวิ่งทะยานขึ้นฟ้า หรือดิ่งลงเหวอุตลุด ได้เช่นนี้?

ก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นข่าวพวกนี้ครับ

  • ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ( NFP คือ Non-Farm Payroll ) ความแรง 100-300 Pips (ข่าวยอดฮิต จะมีข่าวทุกศุกร์แรกของเดือนจำไว้เลย)
  • ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ( PMI คือ Purchasing Managers Index ) ความแรง 50-100 Pips
  • ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค ( CPI คือ Consumer Price Index ) ความแรง 50-100 Pips
  • ตัวเลขการขายปลีก ( Retail Sales ) ความแรง 50-100 Pips
  • ตัวเลขสินค้าประเภทคงทน ( Durable Goods ) ความแรง 50-100 Pips
  • ตัวเลขการขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ย ( Funds Rate ) ความแรง 100-300 Pips
  • คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ( FOMC Speaks ) ความแรง 100-300 Pips

 

แล้วข่าวพวกนี้มีการคาดการณ์ หรือดูการวิเคราะห์จากที่ไหน ? อย่างไร ?

หากกล่าวถึงนักลงทุนบางท่านที่มีความเข้าใจ หรือชำนาญการเทรดข่าว หรือ ตาม Event ต่างๆ ซึ่งมีประกาศตามช่วงเวลา ที่มีกำหนดไว้อย่างชัดเจน  แนะนำให้อ่านจาก ปฏิทินข่าวเศรษฐกิจ ความสำคัญ วันที่ประกาศ

lesson economic calendar
economic calendar

ซึ่งตามปกติแล้วเทรดเดอร์ สาย Event trade เหล่านี้เขาจะเช็คช่วงเวลาของข่าวสำคัญต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นว่า จะออกช่วงไหนบ้าง มันจะส่งผลกระทบ (Impace) กับคู่สกุลเงินไหนบ้างที่เกี่ยวข้อง เมื่อข่าวออกมาแล้ว กราฟหรือราคาของตลาด จะวิ่งไปทางไหน จะวิ่งสูงขึ้นหรือต่ำลงประมาณเท่าใด

เมื่อเขาได้วิเคราะห์หรือจับทิศทางของตลาดได้แล้ว เขาก็ใช้โอกาสนี้เข้าออเดอร์ซื้อขาย เน้นการลงทุนที่มี Money Management ที่ดี ตามประสบการณ์ ความรู้ หรือความชำนาญ(วิทยายุทธ) ที่เขามี ในการทำกำไรนั่นเอง ซึ่งปกติเขาก็จะดูจากเว็บ  www.forexfactory.com ประกอบการตัดสินใจด้วยอีกทีหนึ่ง

แล้วท่านมาใหม่ล่ะ ยังงูๆ ปลาๆ อยู่ ยังดูตัวเลขเศรษฐกิจไม่เป็น ยังไม่รู้ว่า หากตัวเลขออกมา เป็นบวกหรือลบ เท่านั้นเท่านี้ กราฟจะวิ่งขึ้นหรือจะลงไปทางไหน?  อย่างไง?

เอาเป็นว่า ก่อนอื่นให้เข้าใจก่อนว่า
ราคาหรือค่าเงินของคู่สกุลเงินต่างๆ นั้น (กราฟ) จะขึ้นหรือลง ล้วนมาจากตัวเลข Forecast (ค่าที่พยากรณ์) ของข่าว

forexfactory calendar

เช่นตัวเลข Forecast ของข่าวพวกนี้ จะทำให้ค่าเงิน(กราฟ) วิ่งขึ้นลงสูง เพราะอิมแพคมันแรง
Non-Farm Payrall, PMI, Retail Sales, Funds Rate , FOMC Speaks

การตีความหมายจากตัวเลขของข่าวว่าค่าเงินจะขึ้นหรือลง (เอาแบบง่ายๆ)

  • โฟกัสไปที่ข่าวสีแดงในและค่าเงินที่เกี่ยวข้อง ที่เว็บ www.forexfactory.com
  • ดูตัวเลขคาดการณ์ (Forecast) เทียบกับตัวเก่า (Previous) ว่า เขาคาดการณ์ไว้ดีขึ้นหรือ แย่ลง
  • ดูที่ตัวเลขหรือค่าแอคชวลที่ออกว่าเป็นสีอะไร เขียว=ขึ้น แดง=ลง (ค่าเงินที่เกี่ยวข้อง)
  • ดูสกุลเงินของตัวเลขว่า อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ของคู่ที่จับ แล้วมองเป็นกราฟให้ออกว่าจะขึ้นหรือลง เมื่อค่าเงินแข็งหรืออ่อน
  • เอาตัวเลขทั้งสามนั้น ตัวจริง (Actual),ตัวที่พยากรณ์ (Forecast), ตัวเก่า (Previous) มาเทียบกันเพื่อสรุปผลกับที่คาดการณ์ไว้ (Forecast) ว่าเป็นอย่างไร ดีขึ้น เท่าเดิม หรือแย่ลง แล้วมองออกไปเป็นกราฟ จากผลกระทบดังกล่าว

เทคนิคการเทรดข่าวเบื้องต้น สำหรับมือใหม่

กลยุทธ์การซื้อขายบนพื้นฐานของข่าว ก็เป็นเทคนิคง่ายๆ เป็นที่รูจักกัน ในวงการอีเว่นท์เทรดเบื้องต้น นั่นก็คือการ ใช้ตัวช่วย Penidng Order (คำสั่งรอดำเนินการล่วงหน้า) ในช่วงระยะเวลาที่แนะนำคือ 1 – 5 นาที (ไทมเฟรม M1, M5)
คู่สกุลเงินที่เหมาะสมกับกลยุทธ์นี้ คือ EURUSD, GBPUSD, USDJPY, AUDUSD, USDCAD, NZDUSD

 

การเปิดคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Penidng Order)

ให้เทียบเวลาที่ข่าวในปฏิทินจะออก กับช่วงเวลาที่เราจะเข้าออเดอร์  โดยใช้กรอบเวลา M1 หรือ M5
โฟกัสมาที่ช่วงก่อนเวลาที่ข่าวจะออกชัก 2-3 นาที ณ ตอนนั้น แล้วใช้คำสั่ง Penidng Order วางคำสั่ง Buy Stop และ Sell Stop ดังนี้

  • ยึดจากระดับราคาสูงสุด(กรณี Buy Stop) หรือต่ำสุด (กรณี Sell Stop) ของช่วง 10-15 นาทีที่ผ่านมา
  • ราคาที่วางไม่ควรใกล้เกิน 8 จุด จากระดับราคาในปัจจุบัน เพื่อลดการขาดทุน
  • เพื่อประกันชีวิตของพอร์ต ตั้ง Stop Loss ในระดับ 3-4 สเปรดจากราคาปัจจุบันของคู่สกุลเงินดังกล่าว
  • กำหนดวาง Take Profit ที่ระดับ 80 – 90 จุด หรือ ตามที่คุณเชื่อว่าราคาสามารถไปถึง (ระวังด้วยถ้าตั้งห่างไปจะไม่ได้กินเพราะความโลภ)

คำสั่งดังกล่าวจะรันไปตามที่เรา Set ไว้ ตามช่วงเวลาที่ข่าวประกาศ ถ้าราคาไปถูกทาง ไม่แวะมาทักฝั่ง Stop Loss ซะก่อน หากเราอยู่หน้าจอ เราสามารถย้าย Stop Loss ของฝั่งที่มันถูกทางนั้น เลื่อนขึ้นหรือลงไปตามที่ทิศทางของราคาที่กำลังก้าวกระโดด ตามความเหมาะ

เผื่อถ้ามันไม่ไปต่อแล้ว หากย้อนกลับมาแตะที่ Stop loss ก็เป็นการปิดออเดอร์เพื่อเก็บกำไร ไปโดยปริยายนั่นเอง (ไม่โลภมากเกินไป เดี่ยวอด)

trading with news
ตามข่าวเพื่อเทรด forex

 

 

โบรกเกอร์ที่เหมาะสำหรับเทรดตามข่าว

ic markets forexinthai

IC Markets

เว็บไซต์: https://icmarkets.com

pepperstone forexinthai

Pepperstone

เว็บไซต์: https://pepperstone.com