สกุลเงินต่างๆ ทั่วโลกจะมีหน่วยงานดูแลค่าเงินของตัวเองอยู่ นั้นก็คือธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลนั้น อย่างเช่นค่าเงินบาท หน่วยงานที่ดูแลก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)
สกุลเงินหลักที่ใช้ซื้อ-ขายในตลาด Forex มี 7 สกุลคือ
- ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD)
- ยูโร (EUR)
- ปอนด์ (GBP)
- เยน (JPY)
- ดอลลาร์แคนาดา (CAD)
- สวิสฟรังก์ (CHF)
- ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
และมีอีก 1 สกุล ที่นักเทรดนิยมทำการซื้อ-ขายมากที่สุดคือ สกุลเงิน NZD ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ในอีกไม่นาน ก็จะมีอีก 1 สกุลที่มีความแข็งแกร่ง เพิ่มเข้ามาเป็นสกุลเงินหลักในวงการตลาด FOREX นั่นก็คือ สกุลเงินหยวนที่มีซื่อว่า Renminbi (CNY,CNH) เนื่องจาก IMF มีมติให้เงินหยวนของจีนเข้าเป็นตระกร้าเงินหลักสำคัญเมื่อ 30 พ.ย. 2558 โดยกำหนดให้เริ่มมีผลวันที่ 16 ต.ค. 2559 ที่จะถึงนี่
เมื่อเงินหยวนเข้ามาแล้ว จะอยู่ในสกุลเงินหลักอันดับที่ 3 นำหน้าเงินเยนญี่ปุ่น ส่วนอันดับ 1 ก็เป็นดอลลาร์สหรัฐ ที่เปรียบเสมือนเป็นประธาน อันดับ 2 รองลงมาก็เงินยูโรเช่นเดิม แต่การเข้ามาของเงินหยวนครั้งนี้ เท่ากับเป็นการแย่งน้ำหนักสกุลเงินยูโรแบบเต็มๆ และดอลลาร์สหรัฐเองก็สะเถือนไปตามๆกัน เหตุก็เพราะจีนเองก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว
ในทุกๆของสกุลเงินจะมีธนาคารกลางที่คอยกำกับดูแลและกำหนดอัตราดอกเบี้ยประจำปี ซึ่งมีผลต่อการนำไปคำนวณค่า swap ต่างๆ รวมทั้งค่า swap ในตลาด forex สำหรับธนาคารกลางของสกุลเงินหลักสำคัญปัจจุบันดังกล่าว มีดังนี้
- Federal Reserve System (FED) ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ดูแลสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
- European Central Bank (ECB) ธนาคารกลางยุโรป ดูแลสกุลเงินยูโร (EUR)
- Bank of England (B0E) ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ ดูแลสกุลเงินปอนด์ (GBP)
- Bank of Japan (B0J) แห่งชาติประเทศญี่ปุ่น ดูแลสกุลเงินเยน (JPY)
- Bank of Canada (B0C) ธนาคารกลางแห่งประเทศแคนาดา ดูแลสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา (CAD)
- Swiss National Bank (SNB) ธนาคารกลางแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดูแลสกุลเงินสวิสฟรังก์ (CHF)
- Reserve Bank of Australia (RBA) ธนาคารกลางออสเตรเลีย ดูแลสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
- Reserve Bank of New Zealand (RBNZ) ดูแลสกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD)
และอีก 1 สกุลเงินที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดการเงินคือ สกุลเงิน Renminbi (CNY,CNH) ของประเทศจีน มีธนาคารกลางที่กำกับดูแลคือ The People’s Bank of China (PBC) ส่วนประเทศไทยเรานั้น ธนาคารที่กำกับดูแลสกุลเงินบาท (BTH) ก็คือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ Bank of Thailand (BOT) สกุลเงินดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 36 บาท (baht)
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่นดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน
นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศและในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป
ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า “เพนนี” (penny), 5 เซนต์ ว่า “นิกเกิล” (nickel), 10 เซนต์ ว่า “ไดม์” (dime), 25 เซนต์ ว่า “ควอเตอร์” (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า “บั๊ก” (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand)
เหรียญกษาปณ์ดอลลาร์สหรัฐ
ธนบัตรหมุนเวียนดอลลาร์สหรัฐ
ธนบัตรไม่หมุนเวียนดอลลาร์สหรัฐ
สารบัญเนื้อหา คลิกเพื่ออ่านในหัวข้อต่างๆ
สกุลเงินยูโร
ประวัติ เงินยูโร (ใช้สัญลักษณ์ว่า € รหัสธนาคาร EUR) คือสกุลเงินของ 19 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยรวมกันเรียกว่ายูโรโซน(Eurozone – เขตยูโร)
เงินยูโรเป็นผลมาจากความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจที่ได้รับการพัฒนาในยุโรปมาตั้งแต่ยุคสมัยโรมัน แม้กระนั้นเงินยูโรก็ยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเหมือนกับเป็นการค้าขายสำหรับตลาดของยุโรป อำนวยความสะดวกในการค้าขายแลกเปลี่ยนอย่างอิสระภายในยูโรโซน
โดยเงินสกุลนี้ยังได้รับการดูแลจากผู้ก่อตั้ง ให้เป็นส่วนสำคัญของโครงการของการการรวมอำนาจทางการเมืองของยุโรป เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกสหภาพยุโรปบางแห่ง ได้แก่ประเทศโมนาโก ประเทศซานมารีโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือลีราอิตาลีเป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทนและได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปก็ตาม
นอกจากนี้แล้วยังมีประเทศอันดอร์รา มอนเตเนโกร และดินแดนคอซอวอในประเทศเซอร์เบียที่สามารถใช้เงินยูโรได้
เหรียญกษาปณ์เงินยูโร
1 ยูโร สามารถแบ่งได้เป็น 100 เซนต์ ในเหรียญนั้น ด้านหัว ใน 13 ประเทศที่ใช้จะมีด้านหัวที่แตกต่างกันไปตามการออกแบบของประเทศตน แต่ด้านก้อยในทุกประเทศที่ใช้หน่วยเงินยูโรจะเหมือนกัน โดยเหรียญที่ใช้หมุนเวียนทั่วไปมีดังนี้
ธนบัตรเงินยูโร
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง
เงินปอนด์นั้นใช้มาตั้งแต่ยุคเก่าแก่โบราณ ตั้งแต่สมัย พ.ศ. 1320 โน่น มีประวัติความเป็นมายาวนาน ถ้าใครสนใจต้องการศึกษาข้อมูลอย่างรายละเอียดแนะนำให้ไปที่ เว็บวิกิพีเดีย
เหรียญกษาปณ์เงินปอนด์สเตอร์ลิง
มีเหรียญดังนี้ เหรียญล่ะ 1, 2, 5, 10, 20, 50 เพนนี และ 1, 2 ปอนด์
ธนบัตรเงินปอนด์สเตอร์ลิง
ธนบัตรมีแบงค์ล่ะ 5, 10, 20 และ 50 ปอนด์
สกุลเงินเยน
สกุลเงินเงินเยน (ญี่ปุ่น: 円, สัญลักษณ์ ¥, รหัส ISO 4217 JPY) มีหน่วย่อยคือ cen =1/100เยน และ rin 1/10cen (ในปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว) มีการใช้กว้างขวางทั่วโลก นิยมเก็บเป็นเงินสำรอง รองลงมาจาก ดอลลาร์สหรัฐ และ เงินยูโร คำว่าเยน ภาษาญี่ปุ่นจะอ่านออกเสียงว่า เอน อย่างไรก็ตามการอ่านออกเสียง เยนถือเป็นชื่อมาตรฐาน สัญลักษณ์ลาตินคือ ¥ ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะนิยมเขียนเป็นตัวอักษรคันจิว่า 円
เหรียญกษาปณ์เงินเยน
มีเหรียญดังนี้ เหรียญล่ะ 1,5 ,10,50, 100, 500 เยน
ธนบัตรเงินเยน
ธนบัตรมีแบงค์ล่ะ 1,000 , 2,000 , 5,000 และ 10,000 เยน
สกุลเงินดอลลาร์แคนาดา
แคนาดาใช้สกุลเงินดอลลาร์แคนาดาเป็นสกุลเงินหลัก (สัญลักษณ์ $ โค้ด CAD) โดยปกติจะใช้ย่อในสัญลักษณ์ดอลลาร์ ($) หรือใช้ C$ เพื่อแบ่งแยกกับสกุลเงินดอลลาร์อื่น และมีค่าเงินแตกต่างกับเงินดอลลาร์ของอเมริกัน ด้วย
เหรียญกษาปณ์เงินดอลลาร์แคนาดา
มีเหรียญดังนี้ เหรียญล่ะ 1 เซ็นต์ (เพนนี), 5 เซ็นต์ (นิกเกิล) ,10 เซ็นต์ (ไดม์) , 25 เซนต์ (ควอเตอร์) , 50 เซ็นต์ , 1 ดอลลาร์แคนาดา (ลูนี), 2 ดอลลาร์แคนาดา (ทูนี)
ธนบัตรเงินดอลลาร์แคนาดา
ธนบัตรแบงค์ล่ะ 5, 10, 20, 50, 100 และ 1,000 ดอลลาร์
สกุลเงินสวิสฟรังก์
สวิสฟรังก์ (อังกฤษ: Swiss franc ; ISO 4217: CHF หรือ 756) เป็นสกุลเงินและตั๋วเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศลิกเตนสไตน์ และมีใช้ในดินแดนบางส่วนของประเทศอิตาลีและเยอรมนี มีธนาคารกลาง Swiss National Bank เป็นผู้ออกธนบัตรฟรังก์ ส่วนเหรียญกษาปณ์นั้น ออกโดย Swissmint ซึ่งเป็นโรงกษาปณ์ของสหพันธ์ สกุลเงินที่ใช้นั้น เรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ นั่นก็คือ เหรียญ 100 รัพเพน (เรียกว่า Rappen ในพื้นที่ที่มีชาวเยอรมันอาศัยอยู่) หรือ centimes (ในพื้นที่ที่มีชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่) หรือ centisimi (ในพื้นที่ที่มีชาวอิตาลีอาศัยอยู่)
เหรียญกษาปณ์เงินสวิสฟรังก์
มีเหรียญดังนี้ เหรียญล่ะ 5, 10, 20,50 Rappen และ ½, 1, 2 , 5 ฟรังก์
ธนบัตรเงินสวิสฟรังก์
ธนบัตรมีแบงค์ล่ะ 10, 20, 50, 100, 200 และ 1,000 ฟรังก์
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย
ออสเตรเลียใช้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) โดย 1 ดอลลาร์ออสเตรเลียจะมีค่าเท่ากับ 100 เซ็นต์ และมีการแบ่งค่าของเงินดังนี้ คือ ค่าของธนบัตรมีแบบใบละ 5,10, 20, 50 และ 100 ดอลลาร์ ส่วนเหรียญที่ใช้ จะมี 2 แบบคือเหรียญทอง จะมีเหรียญละ 1 ดอลลาร์ และ 2 ดอลลาร์ ส่วนเหรียญเงินจะมีแบบเหรียญละ 5, 10, 20 และ 50เซ็นต์
เหรียญกษาปณ์เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย
มีเหรียญดังนี้ เหรียญล่ะ 5, 10, 20 และ 50เซ็นต์ และ 1, 2 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
ธนบัตรเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย
ธนบัตรมีแบงค์ล่ะ 5, 10, 20, 50 และ 100 ดอลลาร์
สกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์
เงินดอลลาร์นิวซีแลนด์เป็นสกุลเงินเดียวที่ใช้เฉพาะในนิวซีแลนด์ แบบธนบัตร จะเป็น แบงค์ 5, 10, 20, 50 และ 100 ดอลล่าร์ เหรียญจะเป็น 10 , 20, 50 เซ็นต์ และ 1, 2 ดอลล่าร์นิวซีแลนด์
เหรียญกษาปณ์เงินดอลลาร์นิวซีแลนด์
มีเหรียญดังนี้ เหรียญล่ะ 10 , 20, 50 เซ็นต์ และ 1, 2 ดอลล่าร์
ธนบัตรเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์
ธนบัตรมีแบงค์ล่ะ 5, 10, 20, 50 และ 100 ดอลล่าร์
สกุลเงินเหรินหมินปี้ Renminbi
เหรินหมินปี้ (จีนตัวย่อ: 人民币 ; จีนตัวเต็ม: 人民幣 ; พินอิน: rénmínbì ; ตามตัวอักษรหมายถึง “เงินตราของประชาชน”) เป็นเงินตราอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดย ธนาคารประชาชนแห่งชาติจีน (People’s Bank of China) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเงินตราของ จีนแผ่นดินใหญ่ ตัวย่อใน ISO 4217 คือ CNY ,CNH (CNY=ใช้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนภายในประเทศจีน , CNY, CNH = ใช้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนนอกประเทศจีน)
หน่วยเงินพื้นฐานของเหรินหมินปี้ คือ หยวน (yuán) โดยทั่วไปจะเขียนโดยใช้อักษร 元 แต่ตามแบบแผนแล้ว จะใช้ตัวอักษร 圆 เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ในบางครั้งชื่อของเงินตรา (เหรินหมินปี้) ก็สับสนกับคำที่ใช้เรียกหน่วยเงิน (หยวน). และในบางโอกาส หยวนก็ถูกเรียกเป็น ดอลลาร์ และคำย่อ RMB¥ บางครั้งก็เขียนเป็น CN$ 1 หยวน แบ่งเป็น 10 เจี่ยว (角; jiǎo), 1 เจียว แบ่งเป็น 10 เฟิน (分; fēn) ธนบัตรเหรินหมินปี้ที่มีมูลค่าสูงสุดคือ 100 หยวน ส่วนธนบัตรที่มีมูลค่าเล็กที่สุดคือ 1 เฟิน ในภาษาจีนกลาง มักเรียก หยวน ว่า ไคว่ (块/塊; kuài) และเรียก เจียว ว่า เหมา (毛; máo)
ในสาธารณรัฐประชาชนจีน มักจะเขียนราคาโดยมีสัญลักษณ์ ¥ ข้างหน้าราคา และมักจะมีการเขียนสัญลักษณ์ 元 หลังราคาเช่นกันบ่อยครั้ง จะเขียนเลขจีนตามแบบแผนเพื่อป้องกันการปลอมแปลงและการทำบัญชีผิด ข้อมูลเพิ่มเติมที่เลขจีน
หากกล่าวโดยสรุปแล้ว นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1948 เป็นต้นมา ประเทศจีนได้พิมพ์เงินสกุลเหรินหมินปี้ขึ้นใช้แล้วรวม 5 รุ่น เงินรุ่นที่ 5 เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1999 เงินเหรินหมินปี้รุ่นที่ 5 นี้ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์รวมเก้าชนิด ได้แก่ ธนบัตรมูลค่า 100 หยวน 50 หยวน 20 หยวน 10 หยวน 5 หยวน และ 1 หยวน เหรียญกษาปณ์มูลค่า 1 หยวน 5 เจี่ยวและ 1 เจี่ยว
เหรียญกษาปณ์เงินเหรินหมินปี้ (หยวน)
เหรียญกษาปณ์มีดังนี้ เหรียญล่ะ 1 หยวน 5 เจี่ยวและ 1 เจี่ยว
ธนบัตรเงินเหรินหมินปี้ (หยวน)
ธนบัตรมีแบงค์ล่ะ 5, 10, 20, 50, 100, หยวน