การบริหารเงินทุน (Money Management) ในวงการ Forex มักใช้ตัวย่อว่า MM การเทรด Forex ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีหลักการบริหารความเสี่ยงที่ดีที่ประกอบด้วย
- การเทรดที่เป็นตัวของตัวเอง
- การใช้ระบบเทรดที่เหมาะสม
- วางแผนการเทรดให้ชัดเจน
- มีการบริหารเงินทุนที่ดี
- การเทรดอย่างมีวินัย
ซึ่งในวันนี้ เราจะมาเพิ่มละเอียดที่ว่า การบริหารหน้าตัก หรือการจัดการบริหารเงินทุนที่ดี ควรทำอย่างไร
รูปแบบหรือเทคนิควิธีการ บริหารหน้าตักของแต่ล่ะท่าน อาจจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว ค่อนข้างจะมีหลากหลาย เพราะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ล่ะท่านที่รับได้ จึงขอหยิบยกมาเฉพาะบางส่วน คือการบริหารหน้าตัก(เงินทุน) ให้ปลอดภัย ไม่ให้เกิดอาการ Margin call ซึ่งมีรูปแบบคำนวณง่ายๆ ไม่ซับช้อน เพื่อท่านใดที่สนใจ ก็สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้เช่นกันครับ
เปรียบเทียบขนาด lot กับ margin(เงินทุน)ที่ใช้ ต่อการเคลื่อนที่ 1 จุด คือ
Leverage 1:100 การคำนวณให้ยึดที่ทศนิยม 4 จุด (บางโบรกก็จะมีทั้ง 4 และ 5 จุด)
Lot size | ใช้เงิน margin | กำไร/ขาดทุน จุด ล่ะ |
1.0 | 1,000$ | 10$ |
0.1 | 100$ | 1$ |
0.01 | 10$ | 0.1$ |
สมมุติเทรดคู่ EUR/USD เป็นฐานในการคำนวณ (คู่อื่นๆ การใช้เงิน Margin และอัตราการได้เสียต่อการเคลื่อนที่ 1 จุด จะแตกต่างกันนิดหน่อย)
ตัวอย่างการเทรด Forex จากทุนในพอร์ต 1,000 $ บัญชี Standard
รายละเอียด
- ทุน 1,000 $
- ตัดขาดทุน (stop loss) 1%
- ราคา ณ. จุด Long 1.0600
- ราคา ณ. จุดตัดขาดทุน 1.0590 (ติดลบ -10 จุด หรือ 10$)
- กำหนดขนาดของล็อทที่ Lot 0.1
ในตัวอย่างคือ ได้ Buy คู่เงิน EUR/USD Lot size 0.1 ถ้าหากราคาปรับตัวลดลงจาก 1.0600 มาที่ 1.0590 = ลบ 10 จุด หรือจะเสียเงินทั้งสิ้น 10$ จะเห็นว่า เงินในพอร์ตก็ยังเหลือ = 990 $ ตัดปัญหาเรื่อง Margin Call เพราะในบัญชีเงินยังมีเหลือเฟือ
บทสรุป
สำหรับแนวทางการบริหารหน้าตักที่ดี เพื่อไม่ให้ทุนในพอร์ตเสี่ยงเกินไปคือ
- เทรดที่ความเสี่ยงน้อยที่สุดจากยอดบัญชี เช่นใช้เลเวอเรจที่ไม่สูง เปิดล็อทต่ำๆ หรือใช้ความเสี่ยงไม่เกิน 2- 5 % ของทุน หรือใช้ Indicator เพื่อใช้คำนวณ Lot size ที่เหมาะสม
- บวก/ลบ/คูณ/หาร หรือคำนวณ กำไร/ขาดทุนก่อนเข้าออเดอร์เสมอ
- ใช้เทคนิคการตั้งค่าจุดขาดทุน (stop loss) ที่เหมาะสม
- ดูพฤติกรรมของตลาด เเล้วเข้าออเดอร์ อย่างมีเหตุผล
- ประเมินผลว่าการบริหารที่เราใช้ได้ผลมากน้อยแค่ไหน