dow theory

ทฤษฎีและ 6 หลักการของ Dow (Dow Theory)

ทฤษฎีดาว ( Dow Theory) 

Dow Theory หรือที่เรียกว่าทฤษฎีดาว กำเนิดขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว ผู้ที่คิดค้นคือ Mr. Charles Henry Dow เขาเป็นผู้พัฒนาการวิเคราะห์ทางเทคนิค การเก็งกำไร รวมทั้งกฎ Industrial average ในตลาดหุ้น จนทำให้ในช่วงนั้น (ปลายศตวรรตที่ 19) เกิดทฤษฎีใหม่ๆขึ้นมา

 

Dow ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ The wall street journal โดยมีเพื่อนของเขาเป็นหุ้นส่วน ชื่อ Edward Jones รูปแบบฉบับของหนังสือพิมพ์จะเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งหุ้นต่างๆ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไร จึงเป็นการยากที่จะเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ เขาเลยคิดดัชนีขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อตัวเขากับเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วน ชื่อว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยเอาหุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนี ใช้เป็นตัวอ้างอิง เพื่อจะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด รวมทั้งมีการนำตัวเลขดัชนีมาเขียนเป็นกราฟ ให้เห็นรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา (Price Pattern) เพื่อที่จะสามารถคาดคะเนแนวโน้มได้

ปี 1902 Dow ได้เสียชีวิต แต่ก็ยังคงมีหนังสือออกมาใหม่มากมายที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขา เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer จากกฏหรือหลักการรวมทั้งแนวคิดต่างๆของเขาทั้งหมด ทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝั่งตะวันตก ปัจจุบัน (กันยายน 2016) ถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่ทฤษฎีของ Dow ยังคงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคทั้งในตลาดหุ้นและตลาดฟอร์เร็กซ์อย่างต่อเนื่อง เช่น การต่อยอดพัฒนามาเป็นการนับคลื่นใน Elliott wave เป็นต้น ในบทความนี้เราจะมาสรุปว่า กฎ-หลักการ หรือทฤษฎีที่ Dow ได้กล่าวไว้ ว่ามีอะไรบ้าง มาดูกัน

ทฤษฎี Dow แบ่งออกเป็น 6 หลักการสำคัญ คือ

1. ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements) คือ

  • แนวโนมโหญ่ (The main movement or Primary trend) =  1-3 ปี หรือมากกว่า
  • แนวโน้มกลาง(The medium swing or Intermediate trend) =  3 สัปดาห์ – 3 เดือน หรือมากกว่า
  • แนวโน่้มระยะสั้นๆ (The short swing or Minor trend) = รายวัน – เดือน หรือมากกว่า

2. ตลาดหุ้นมี Trend แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ (Market trends have three phases) คือ

  • ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase)
  • ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase)
  • ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase)

3. ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว (The prices reflect the market already)

4. ทุกอย่างต้องมีความสอดคล้องกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other)

5. ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ ต้องมีปริมาณยืนยัน (Volume Must Confirm The Trend)

6. ราคาจะขึ้นจนกว่ามันจะไม่ขึ้น และจะลงจนกว่ามันจะลง (Trends exist until definitive signals prove that they have ended) 

หมายเหตุ:การเทรดในตลาดฟอร์เร็กซ์จะนิยมเล่นในช่วงสั้นๆ กัน หากอาศัยกฏและหลักการตามทฤษฎีของดาว ไทม์เฟรมที่เหมาะสมก็คือ แนวโน้มใหญ่=MN- W1  แนวโน้มกลาง= D1-H4  แนวโน้มย่อยระยะสั้นๆ= H1-M1

ตัวอย่างหุ้นแนวโน้มใหญ่หรือระยะยาว Uptrend (แนวโน้มขึ้น )

(The main movement or Primary trend โดยทั่วไปใช้เวลา 1-3 ปี หรืออาจจะยาวกว่านี้แล้วแต่กรณี

a-sample-Primary-trend-Dow-Theory-up-trend-forex-in-thai

ตัวอย่างหุ้นแนวโน้มกลาง Uptrend (แนวโน้มขึ้น )

The medium swing or Intermediate trend โดยทั่วไปใช้เวลา 3 สัปดาห์ – 3 เดือน หรืออาจจะยาวกว่านี้แล้วแต่กรณี

a-sample-Secondary-or-Intermediate-trend-Dow-Theory-up-trend-forex-in-thai

ตัวอย่างแนวโน้มราคาระยะสั้นๆ

The short swing or Minor trend เป็นส่วนย่อยอีกส่วนของแนวโน้มรอง ราคาจะมีการแกว่งตัวในระยะสั้นๆรายวัน หรือไม่กี่สัปดาห์

Dow5 1 forex ประเทศไทย forexinthai

ตัวอย่างหุ้นที่กำลังอยู่ในช่วงสะสมหรือไล่เก็บของ (Accumulation Phase)

เมื่อราคาหุ้นตกลงมากๆ และมีระยะเวลาที่ติดต่อกันนานๆ จะทำให้มูลค่าการซื้อ-ขาย ต่ำลง สาเหตุอาจจะมาจาก เจ้าของหุ้นไล่ขายจนหมด หรือจะเป็นเพราะมีบางเจ้าที่ใหญ่ๆ ที่มีแผนการลงทุนในระยะยาวๆ จึงทำให้การซื้อขาย ลดน้อยลง

Bull-Market-Accumulation-Phase-Dow-Theory-forex-in-thai

และเมื่อดัชนีบ่งบอกถึงราคาที่ตกต่ำลงมากๆอย่างที่ไม่ควรเป็น ช่วงดังกล่าวอาจจะเป็นรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) นักลงทุนสายป่าน จะมองในอีกมุมคือ เขาจะคิดว่าราคาคงจะต่ำถึงที่สุด เป็นแนวโน้มระยะสุดท้ายของขาลง (Final phase of the bear market) จึงไล่กรวดซื้อเมื่อราคาต่ำลงมาถึงเป้าหมาย (Target Price) คือราคาที่อยู่ในช่วงจังหวะที่เป็น higher low

ตัวอย่างหุ้นช่วงที่มหาชนกำลังมีส่วนร่วม (The public participation phase)

หุ้นในช่วงที่มหาชนมีส่วนร่วม ก็คือหุ้นในช่วงที่มหาชนเริ่มสนใจ เพราะเห็นว่ามันมีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยอย่างยิ่ง ใครที่เล่นตาม  Trend Following  ก็จะกระโจนเข้ามาในช่วงนี้ เพื่อจะทำกำไรตามหุ้นที่ขึ้นอย่างร้อนแรง

The-public-participation-phase-forex-in-thai

ตัวอย่างช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase)

ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ ..ก็คือ ช่วงที่แมลงเม่า หรือ คนส่วนใหญ่เริ่มออกทำงาน ..คนเหล่านี้ เห็นหุ้นขึ้นมาร้อนแรง เห็นข่าวดีมากมาย ..จากนั้นก็เลยกระโดดเข้าไปตาม ซึ่งเวลาที่โดดเข้าไป ก็มักเข้าไปในช่วงที่ตลาดขึ้นไปสุดแล้ว เริ่มย่อ ก็นึกว่าได้ของถูก ..แต่ความจริง การย่อ มันเป็นจุดเริ่มต้นของขาลง ..ในที่สุด เขาก็อยู่บนดอยนั่นเอง

The-distribution-phase-forex-in-thai

Credit:www.investopedia.com, www.bualuang.co.th