อิชิโมกุ (Ichimoku) ประโยชน์และการใช้งาน

อิชิโมกุ (Ichimoku) ประโยชน์และการใช้งาน

อิชิโมกุ (ichimoku) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอีกตัวหนึ่ง ที่อยู่ในแฟลตฟอร์ม MT4 โดยอินดิเคเตอร์ตัวนี่ หากมองโดยภาพรวมๆแล้ว ค่อนข้างจะยุ่งเยิง สับสน อลเวง ดูไม่ค่อยจะน่าใช้ชักเท่าไร แต่ในความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ครับ เพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ เขาให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำมากทีเดียว ในบทความนี้จะมากล่าวถึงประโยชน์และการนำไปใช้ง่าย ของเจ้า Ichimoku กันครับ โดยเนื้อหาจะอยู่ในรูปแบบฉบับย่อ สั้น กระทัดลัด เพื่อจะได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจครับ

ichimoku-forex-in-thai

Ichimoku แบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน ที่ประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 5 เส้นดังนี้

  • เส้นถอย (Chikou ชิโคว) คือเส้นราคาปิดปัจจุบันที่ขยับตัวกลับ 26 ครั้ง
  • เส้นกลาง จะประกอบด้วย 2 เส้นคือ เส้น คือเส้น Tenkan (เท็งกัง) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 9 ครั้ง, และเส้น Kijun (คิจุน) = คือค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 26 ครั้ง
  • เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ (Kumo คุโมะ) ประกอบด้วย 2 เส้น ที่ Shif ไปข้างหน้า 26 ครั้ง คือเส้น Senkou span A (เซนโคว สแปนเอ) = ค่าเฉลี่ยจาก Tenkun+Kijun ÷ 2, และเส้น Senkou Span B (เซนโคว สแปนบี) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 คำนวณย้อนหลัง 52 ครั้ง

ตัวอย่างองค์ประกอบของเส้นต่างๆที่อยู่ใน Ichimoku

ichimoku-Chikou-Tenkun-Kijun-Senkou-span-A-Senkou-Span-B-forex-in-thai-KijuKumo

การเลือกใช้งาน Ichimoku ใน MT4 : ให้ไปที่ Insert » indicators » trend »  ichimoku kinko hyo

ประโยชน์ของการนำ Ichimoku มาใช้

  • บอกจุดชื้อ – ขาย โดยดูจากเส้นคู่กลาง (Tenkan,Tenkan) ถ้าแดงตัดน้ำเงินขึ้น=ซื้อ ถ้าแดงตัดน้ำเงินลง=ขาย
  • ยืนยันการเกิดเทรนด์ใหญ่ๆ โดยดูจากเส้นถอยตัดกับเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ (Chikou/Kumo) ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับขึ้น = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาขึ้น ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับลง = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาลง
  • บอก pattern ของราคาว่ากำลังอยู่ในช่วงไหน มีเทรนด์หรือไซต์เวย์ โดยดูจากตำแหน่งของแท่งเทียนกับกลุ่มก่อนเมฆ
  • เป็นแนว-รับแนวต้าน โดยดูจากเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆกับแท่งเทียน
  • บอกจุดที่ราคาจะมีการสวิงตัวแรงๆ ตามทฤษฎี break out

1.บอกจุดซื้อ-ขาย จากเส้นคู่กลาง  Tenkan vs Kijun

เส้นคู่กลางมี 2 เส้น คือเส้น Tenkan (เท็งกัง) กับเส้น  Kijun (คิจุน) โดยปกติถ้าเรา insert เข้ามาตามต้นแบบเดิมๆ เส้น Tenkan จะเป็นสีแดง เส้น Kijun จะเป็นสีน้ำเงิน ทั้งสองเส้นนี้จะทำหน้าที่บอกจุดหรือสัญญาณซื้อ-ขาย หรือแนวโน้มในระยะสั้นๆ มีวิธีการจำง่ายๆ ก็คือ ดูเส้นสีแดง (Tenkan) เป็นหลัก  ถ้าตัดเส้นน้ำเงินขึ้นให้ซื้อ ถ้าตัดน้ำเงินลงให้ขาย นั่นเอง ขอให้ดูตามภาพตัวอย่าง

ichimoku-Tell-buy-or-sale-forex-in-thai

2.ยืนยันการเกิดเทรนด์ใหญ่ๆ Chikou vs Kumo 

การยืนยืนว่าจะมีเทรนด์ใหญ่ๆเกิดขึ้น ก็อาศัยการตัดกันของเส้นถอยกับเส้นขยับ ปกติเส้นถอย (Chikou) ตามต้นแบบหลังจาก insert เข้ามาจะเป็นสีเขียว (นิยมใช้สีเดิมตามต้นฉบับ) ส่วนเส้นขยับ (Kumo) หรือที่เรียกว่ากลุ่มก้อนเ มฆนั้นที่ เกิดจากเส้นสองเส้น รวมเข้าด้วยกัน คือเส้น Senkou span A กับเส้น Senkou span B ทำให้เกิดก้อนเมฆขึ้น ถ้าสองเส้นนี้อยู่ห่างกันก็จะเป็นก้อนเมฆใหญ่ ถ้าอยู่อยู่ใกล้กันก็เป็นก้อนเมฆเล็ก ถ้าใกล้กันมากๆ ก็จะเป็นแค่รูปเป็นเส้น ในการยืนยันการเกิดเทรนด์ มีวิธีการจำง่ายๆ ก็คือถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับขึ้น = อาจเกิดเทรนด์ใหญ่ขาขึ้น ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับลง = อาจเกินเทรนด์ใหญ่ขาลง ตามตัวอย่าง

ichimoku-Confirm-big-trend-up-or-down-forex-in-thai

หมายเหตุ: สีตัวเมฆที่เป็นเส้น Kumo อาจจะแตกต่างกันไป ตามที่แต่ล่ะท่านได้เช็ทไว้

3.บอก pattern ของราคาว่ากำลังอยู่ในช่วงไหน Candlesticks vs Kumo

pattern  ของราคากำลังอยู่ในช่วงไหน ดูได้จากตำแหน่งของแท่งเทียนที่อยู่กับกลุ่มก่อนเมฆ  ทำความเข้าใจง่ายๆก็คือ

  • ถ้าราคา(แท่งเทียน) ยังอยู่เหนือก้อนเมฆ แสดงว่ายังเป็นแนวโน้มขาขึ้น
  • ถ้าราคา(แท่งเทียน) ยังอยู่ใต้ก้อนเมฆ แสดงว่ายังเป็นนวโน้มขาลงอยู่
  • ถ้าราคา(แท่งเทียน) อยู่ใน Zone ก้อนเมฆอยู่ ยังไม่ดีดหรือพุ่งไปไหน แสดงว่าราคายังอยู่ในรูปแบบ(แพทเทิร์น)ไซต์เวย์

ตัวอย่างการบอก pattern ของราคาจาก Candlesticks vs Kumo

ichimoku-tell-still--uptrend-or-downtrend-forex-in-thai

4.เป็นแนวรับ-แนวต้าน Candlesticks vs Kumo

เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆสามารถเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้านโดยดูจาก

  • เป็นแนวรับเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยู่เหนือกลุ่มก้อนเมฆ
  • เป็นแนวต้านเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยุ่ใต้กลุ่มก้อนเมฆ

ถ้าหากราคาสามารถทะลุแนวรับ หรือแนวต้านได้เมื่อไหร่ นั่นหมายถึง ราคาอาจเกิดการเปลี่ยนเทรนด์ได้

ตัวอย่าง การทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับ-แนวต้าน ของ Kumo (กลุ่มก้อนเมฆ)

Use-chimoku-to-Support - Resistance-forex-in-thai

5.บอกจุดที่ราคาจะมีการสวิงตัวที่แรงๆ ตามทฤษฎี break out, Candlesticks vs Kumo

เมื่อไหร่ที่ราคา(แท่งเทียน) หลุดตัวทะลุออกจากกลุ่มก้อนเมฆมามาแล้ว ราคาจะมีการสวิงตัวที่รุนแรง ตามทฤษฎี break out

ichimoku-forex-in-thai

คลิปแนะนำการใช้ Ichimoku เบื้องต้น