กรมสรรพากร ได้มีการแถลงข่าว วันที่ 18 กันยายน 2566 เรื่อง “กรมสรรพกรปรับปรุงวิธีการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ เริ่มใช้ 1 มกราคม 25267 เป็นต้นไป”
ก่อนหน้ากฎที่อนุญาตให้ผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้จากต่างประเทศต้อง เสียภาษีเฉพาะในกรณีที่เงินนั้นถูกส่งเข้าประเทศไทยในปีเดียวกับที่ได้รับ แต่ตอนนี้ก็มีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อปิดช่องโหว่ของผู้ที่เลื่อนการโอนรายได้ในต่างประเทศไทยังปีอื่น
หลักเกณฑ์การเสียภาษีของไทยสำหรับเงินได้จากต่างประเทศ
โดยทั่วไป กฎหมายภาษีของไทย (ประมวลรัษฎากร) วางหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ 2 หลัก ได้แก่
1. หลักแหล่งเงินได้ – ประเทศไทยจะเก็บภาษีเมื่อบุคคลธรรมดามีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย
2. หลักถิ่นที่อยู่ – ประเทศไทยจะเก็บภาษีเมื่อบุคคลธรรมดาอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีปฏิทินเดียวกัน (ปีภาษี) มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ และนำรายได้จากต่างประเทศนั้นเข้ามาในประเทศไทยด้วย
ดังนั้น กรณีบุคคลธรรมดามีรายได้จากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ตามหลักถิ่นที่อยู่
โดยกฎใหม่นี้จะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2567 และจะทำให้ทางการสามารถเก็บภาษีรายได้ต่างประเทศของบุคคลได้ในปี 2025 แต่อย่างไรก็ดี กฎระเบียบใหม่นี้ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า นี่คือวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยจริง ๆ หรือไม่ เพราะผู้เชี่ยวชาญหลายคนมีความกังวลว่า นโยบายใหม่นี้ อาจทำให้นายธนาคารเอกชน และสถาบันการเงินอาจพิจารณาว่า สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบในประเทศไทยมีความไม่แน่นอนและยุ่งยาก
อย่างไรก็ตาม มุมมองทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผลกระทบระยะยาวของนโยบายใหม่นี้ อาจจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และเกิดความไม่เท่าเทียมของรายได้ในประเทศที่อาจรุนแรงขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูล
Source: Bangkokpos