หลายๆ ท่านที่เข้ามาใหม่ กำลังศึกษาในตลาด forex ชนิดที่ว่าใหม่เอามากๆ ใหม่แกะกล่อง ใหม่โคตรๆ ประมาณนั้น อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า Margin Call แต่ถ้าได้เข้ามาลงเรือลำเดียวกันแล้ว (เข้ามาอยู่ในวงการเทรด Forex) เชื่อเหลือเกินว่า ต้องมีชักวันๆ อย่างที่เพลงพี่ก๊อต จักรพรรณ์ นักร้องเพลงลูกทุ่งได้ขับร้องไว้ แต่ในที่นี่หมายถึง ต้องมีชักวัน ต้องเจอ Margin Call ถ้าไม่เติมเงิน หรือไม่ยอมตัดขาดทุน พอร์ตโดนล้างแน่ๆ ครับ สาธยายมาชะนาน เข้าเรื่องกันดีกว่าครับ
Margin call (การเรียกหลักประกัน) คือ สัญญาณที่โบรกเกอร์จะส่งให้กับลูกค้า เพื่อเตือนว่าบัญชีซื้อขายของคุณกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงิน พูดแบบภาษาบ้านๆ ก็คือ “พอร์ตใกล้แตก” นั้นแหละครับ โดยโบรกเกอร์แต่ละเจ้า จะส่งสัญญาณ Margin call เพื่อแจ้งเตือนเมื่อระดับเปอร์เซ็นต์มาร์จิ้นของบัญชีลดลงถึง ระดับที่โบรกเกอร์กำหนด
ถ้าอยากรู้ว่าโบรกเกอร์ กำหนดค่า ระดับเปอร์เซ็น margin call ไว้ที่เท่าไหร่ ให้เข้าไปที่เว็บไซต์โบรกเกอร์ที่คุณใช้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในหน้า เงื่อนไขการเทรด หรือ ข้อมูลบัญชีเทรด
ตัวอย่าง การเตือน Margin Call ในแถบ การซื้อขาย ข้อมูล Balance พื้นหลังจะขึ้นเป็นสีชมพู
ทำไงดี หากโดน Margin Call ?
เมื่อเดินมาถึงจุดนี้ คุณก็ต้องเลือกครับว่า จะไปต่อหรือพอแค่นี้
ถ้า เลือกจะไปต่อ เพราะเชื่อว่า สถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น สามารถแก้ไขด้วยการ เพิ่มหลักประกัน ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ
- เติมเงินเข้าไปในพอร์ต หรือที่เรียกกันว่า เพิ่มทุนนั้นเอง
- ปิดออเดอร์บางส่วน เป็นการลดการใช้ Margin (Used Margin) ทำให้มีหลักประกันเพิ่มขึ้น
….
หรือ คุณเลือกที่จะพอแค่นี้ เพราะเชื่อว่า ออเดอร์ที่ติดลบ คงไม่กลับมาบวกแล้ว ปล่อยให้โดน stop out ถือเป็นบทเรียน ยอมรับความผิดพลาด แล้วมาทบทวน เริ่มต้นใหม่ กับ ออเดอร์ใหม่ดีกว่า
Stop Out หมายถึงระดับเปอร์เซ็นต์มาร์จิ้นที่ทางโบรกเกอร์กำหนดไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการให้บริการ เมื่อระดับเปอร์เซ็นต์มาร์จิ้นของบัญชีลดลงถึงเปอร์เซ็นต์ที่โบรเกอร์กำหนด โบรกเกอร์ก็จะทำการปิดออเดอร์ ที่มีอยู่ให้อัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินในบัญชีเกิดการติดลบ ด้วยการปิด ออเดอร์ ที่มีค่าติดลบมากที่สุดตามลำดับ จนกว่าจะมี Free Margin หรือ Equity เพียงพอ เหตุการณ์นี้แหละ ที่เขาเรียกว่า “ล้างพอร์ต” ของจริง
เหตุไฉนพอร์ตถึงโดน Margin Call ?
มาร์จิ้นคอลจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เปอร์เซ็นต์ส่วนของนักลงทุนในบัญชีหลักประกันต่ำกว่าจำนวนเงินที่นายหน้าหรือโบรกเกอร์ต้องการเพื่ออยู่ในสถานะรักษาพอร์ตไม่ให้โดยล้างนั่นเอง บัญชีมาร์จิ้นของนักลงทุนประกอบด้วยหลักทรัพย์ที่ซื้อด้วยเงินของนักลงทุนเองและเงินที่ยืมมาจากนายหน้าของนักลงทุน นายหน้าในที่นี้ก็คือ โบรกเกอร์ที่เราเปิดบัญชีเข้ามาเทรดนั่นเอง
มาร์จิ้นคอลมักจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าหลักทรัพย์ที่ถือในบัญชีมาร์จิ้นมีมูลค่าลดลง เมื่อมาร์จิ้นคอลเกิดขึ้น นักลงทุนต้องเลือกว่าจะฝากเงินเพิ่มเติมหลักทรัพย์ที่มีหลักประกันในบัญชีหรือขายสินทรัพย์บางส่วนที่ถืออยู่ในบัญชีของตน
เมื่อเทรดเดอร์ ทำการซื้อ/ขาย ค่าเงิน หรือ CDFs ต่างๆ (ลงไม้บายหรือเซล) ในพอร์ตของโบรกเกอร์ที่เราถืออยู่ ในแต่ล่ะครั้งนั้น หมายถึงเรากำลังใช้เงินทุนของเรา ร่วมกับเงินที่เรายืมโบรกเกอร์ไปด้วย เพราะเราเทรดแบบมี Leverage ซึ่งเงินที่อยู่ในพอร์ตเเละเงินที่ยืมโบรกเกอร์ดังกล่าวที่ใช้ในการซื้อขายจะเรียกว่ามาจิ้น แล้วเมื่อไหร่ที่เราเปิดไม้ (ออกออเดอร์บายหรือเซล) ผิดทางแล้วโดนลากขาดทุนมากๆ จะมี Margin Call เป็นแถบสีชมพู เป็นแถบสีแห่งความรัก เพื่อแจ้งเตือนว่า “ขาดทุนมากแล้วนะ พอร์ตจะใกล้แตกหรือโดนล้างแล้วน๋า หากเธอไม่เติมเงินหรือตัดขาดทุนไป พอร์ตจะระเบิดแล้วหมดตูดแน่ๆ จ้า” ประมาณนี้ครับ
มาร์จิ้นคอลเกิดขึ้นเมื่อส่วนของนักลงทุน ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดรวมของหลักทรัพย์ ต่ำกว่าระดับที่กำหนด (เรียกว่าค่าบำรุงรักษา)
Margin Call เกิดขึ้นเมื่อบัญชี Margin เหลือเงินน้อย โดยปกติแล้วจะเนื่องมาจากการเทรดที่ขาดทุน
การเรียกหลักประกันคือความต้องการเงินทุนหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อให้บัญชีหลักประกันเป็นไปตามข้อกำหนดการบำรุงรักษา ฉะนั้นโบรกเกอร์หรือนายหน้าอาจบังคับให้ผู้ค้าขายสินทรัพย์โดยไม่คำนึงถึงราคาตลาดเพื่อให้เป็นไปตามการเรียกหลักประกัน
ตัวอย่างเช่น ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมการเงิน (FINRA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลของบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ที่ดำเนินงานในสหรัฐอเมริกา แต่ละแห่งกำหนดให้นักลงทุนรักษาระดับส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ที่ 25% ของมูลค่ารวมของบริษัท หลักทรัพย์เมื่อซื้อมาร์จิ้น
บริษัทนายหน้าบางแห่งต้องการข้อกำหนดในการบำรุงรักษาที่สูงขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจมากถึง 30% ถึง 40%
การเรียกหลักประกันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเนื่องจากมูลค่าบัญชีลดลง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดผันผวนมากกว่า
หน้าข้อมูล Margin Call ของโบรกเกอร์
Source:https://www.investopedia.com/terms/m/margincall.asp